หลักสูตร ผู้บังคับปั้นจั่นชนิดปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นขาสูง และ ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ชนิดอื่น (หลักสูตรตามกฏหมาย ปี2554)
หลักการและเหตุผล
ทั้งนี้ ในปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรม หรืองานก่อสร้าง มีการนำปั้นจั่น หรือเครน (Crane) เข้ามาใช้ในการช่วยยก เคลื่อนย้ายวัสดุ หรือเพื่ออำนวยความสะดวก รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มจำนวนการใช้งานมากยิ่งขึ้นในอนาคต เป็นผลให้การเกิดอุบัติเหตุจากการใช้ปั้นจั่น หรือเครน (Crane) เพิ่มขึ้นตามไปด้วย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากผู้ประกอบการละเลย ไม่มีการตรวจสอบการใช้ปั้นจั่นตามช่วยระยะเวลาที่กำหนด ขาดการตรวจสอบก่อนการใช้งาน ฯลฯ แต่ที่สำคัญอย่างยิ่งคือหัวหน้างาน พนักงานผู้ปฏิบัติงาน ขาดความรู้ ความเข้าใจในขั้นตอนของการปฏิบัติงาน ในตำแหน่งหน้าที่ที่รับผิดชอบ
ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานปั้นจั่น หรือเครน (Crane) ผู้ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับปั้นจั่น ต้องปฏิบัติตามกฎและระเบียบอย่างเคร่งครัด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติและกำหนดมาตรการป้องกัน รวมทั้งบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในการใช้ปั้นจั่น ตลอดจนการตรวจสอบสภาพการทำงานและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับปั้นจั่น ให้ปลอดภัยกับผู้ใช้งานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องมากที่สุด
วัตถุประสงค์
- 1. เพื่อทำความเข้าใจในกฎหมาย มาตรฐานและสัญลักษณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปั้นจั่น
- 2. เพื่อมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปั้นจั่น ชนิดของปั้นจั่น และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
- 3. เพื่อให้เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่นตามที่หลักเกณฑ์กำหนด
- 4. เพื่อให้เข้าใจหลักในการป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดจากการใช้ปั้นจั่น
- 5. เพื่อให้นำความรู้และวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องและปลอดภัยจากการอบรมปั้นจั่น ไปใช้ในการปฏิบัติงานได้
หัวข้อการอบรม
- 1. ภาคทฤษฎี (9 ชั่วโมง)
- 1.1 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานใน “การบริหาร และจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับปั่นจั่น พ.ศ. 2552” และประกาศ (เพิ่มเติม) กรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน เรื่อง “หลักเกณฑ์ และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บัง คับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2554”
- 1.2 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับปั่นจั่น และชนิดของปั้นจั่น
- 1.2.1 ระบบเครื่องยนต์ดีเซลเบื้องต้น
- 1.2.2 ระบบไอดรอลิคเบื้องต้น
- 1.2.3 ระบบไฟฟ้าเบื้องต้น
- 1.2.4 ระบบสัญญาณเตือน และ Limit Switch
- 1.2.5 การใช้สัญญาณมือ และเครื่องหมายจราจร
- 1.2.6 การอ่านค่าตารางพิกัดยก
- 1.2.7 การเลือกใช้ และตรวจสอบอุปกรณ์ยก
- 1.2.8 วิธีผูกมัด และยกเคลื่อนย้าย
- 1.2.9 การประเมินน้ำหนักสิ่งของ
- 1.2.10 การใช้คู่มือการใช้งาน /การตรวจสอบ / การบำรุงรักษาตามระยะเวลา
- 1.2.11 กรณีศึกษาการเกิดอุบัติเหตุของปั้นจั่น และความสูญเสีย รวมทั้งนำผลการสอบสวนอุบัติเหตุมาวิเคราะห์ เพื่อวางแผนป้องกัน
- 2. ภาคปฏิบัติ (3 ชั่วโมง)
ทดสอบการยก และ เคลื่อนย้ายสิ่งของ ตามเส้นทางที่กำหนด อย่างถูกต้อง และปลอดภัย
หมายเหตุ : หัวข้อการอบรมตามประกาศ กรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน เรื่อง “หลักเกณฑ์ และวิธีการอบร มหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณ แก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2554” และ อบรมโดยวิทยากร ที่มีคุณสมบัติ ตรงตามกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน
กำหนดการอบรม
Download "กำหนดการอบรม"
|
อบรมวันแรก |
09:00-09:15 น.
|
ลงทะเบียน และ Pre – Test
|
09:15-10:30 น. |
ภาคทฤษฎี ( 9 ชั่วโมง)
- 1. กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานใน “การบริหาร และจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับปั่นจั่น พ.ศ. 2552”
- 2. กฎกระทรวงฉบับใหม่ เรื่อง “หลักเกณฑ์ และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บัง คับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2554”
|
10:30-10:40 น. |
พักเบรก (Coffee Break) |
10:40-12:00 น. |
- 3. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับปั่นจั่น และชนิดของปั้นจั่น
- 3.1 ระบบเครื่องยนต์ดีเซลเบื้องต้น
- 3.2 ระบบไอดรอลิคเบื้องต้น
- 3.3 ระบบไฟฟ้าเบื้องต้น
- 4. ระบบสัญญาณเตือน และ Limit Switch
|
12:00-13:00 น. |
พักรับประทานอาหารกลางวัน |
13:00-14:30 น. |
- 5. การใช้สัญญาณมือ และเครื่องหมายจราจร
- 6. การอ่านค่าตารางพิกัดยก
|
14:30-14:40 น. |
พักเบรก (Coffee Break) |
14:40-16:00 น. |
- 7. การเลือกใช้ และตรวจสอบอุปกรณ์ยก
- 8. วิธีผูกมัด และยกเคลื่อนย้าย
- 9. การประเมินน้ำหนักสิ่งของ
|
|
อบรมวันที่สอง |
09:00-10:30 น. |
- 10. การใช้คู่มือการใช้งาน /การตรวจสอบ / การบำรุงรักษาตามระยะเวลา
- 11. กรณีศึกษาการเกิดอุบัติเหตุของปั้นจั่น และความสูญเสีย รวมทั้งนำผลการสอบสวนอุบัติเหตุมาวิเคราะห์ เพื่อวางแผนป้องกัน
|
10:30-10:40 น. |
พักเบรก (Coffee Break) |
10:40-12:00 น. |
ทดสอบ Post - Test พร้อมเฉลย |
12:00-13:00 น. |
พักรับประทานอาหารกลางวัน |
13:00-16:00 น. |
ภาคปฏิบัติ ( 3 ชั่วโมง)
- 12. ทดสอบการยก และ เคลื่อนย้ายสิ่งของ ตามเส้นทางที่กำหนด อย่างถูกต้อง และปลอดภัย (ทดสอบรายบุคคล)
|
หมายเหตุ : หัวข้อการอบรมตามประกาศ กรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน เรื่อง “หลักเกณฑ์ และวิธีการอบร มหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณ แก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2554” และ อบรมโดยวิทยากร ที่มีคุณสมบัติ ตรงตามกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน
แบบฟอร์มขออบรม
DOWLOAD “แบบฟอร์มขออบรม”
อัตราค่าอบรม
DOWLOAD “อัตราค่าอบรม”
กฎกระทรวง ปี 2554
DOWLOAD “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. ๒๕๕๔”
|